เจาะสำรวจและทดสอบดิน
Soil Boring Test

รับเจาะสำรวจดินทั่วประเทศ เพื่อหาความยาวและคำนวณกำลังรับน้ำหนักเสาเข็ม
Email : spnsoiltest@gmail.com

บริษัท เอสพีเอ็น ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ราพร้อมให้บริการเจาะสำรวจดิน (Soil Boring Test) และทดสอบดินทางด้านวิศวกรรม ที่มีประสบการณ์กว่า 15 ปี พร้อมรายงานผลการเจาะสำรวจชั้นดินที่สมบูรณ์ ครบถ้วน รับรองโดยสามัญวิศวกรโยธา - วุฒิวิศวกรโยธา

งานทดสอบในสนาม

เจาะสำรวจดินและหิน

การสำรวจชั้นดินภาคสนามประกอบด้วยการเจาะสำรวจชั้นดิน (Soil Boring) การทดสอบคุณสมบัติของดินในสนาม (In-situ Tests) และการเก็บตัวอย่างดิน (Soil Sampling) เพื่อนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการและหาคุณสมบัติทางวิศวกรรม ผลการทดสอบในสนามและในห้องปฏิบัติการ ทำให้สามารถแบ่งชั้นดิน (Soil Profile) ได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบทางด้านวิศวกรรมฐานราก

ทดสอบความหนาแน่นของดิน (Field Density Test)

การวัดความแน่นของดินในสนามสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการใช้วัสดุแทนที่ โดยมีหลักการคือการขุดหลุมในบริเวณที่ต้องการ จากนั้นนำดินไปชั่งน้ำหนัก และหาปริมาตรของดิน คือวิธี Sand Cone การทดสอบตามมาตรฐานดังนี้ ASTM D 1556

ทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบกทานของดิน (Plate Bearing Test)

ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของดิน (Bearing Capacity) เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในการคำนวณ ออกแบบฐานรากอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการวิเคราะห์การทรุดตัวของดินเมื่อมีน้ำหนักมากระทำ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดิน สามารถทำได้ด้วยวิธี Plate bearing test โดยทำการทดสอบที่ได้จากการพัฒนารูปแบบและปรับเปลี่ยนวิธีการ และขั้นตอนของมาตรฐาน ASTM D1194-94

Field Vane Shear Test

การทดสอบแรงเฉือนของดินในสนามเป็นการทดสอบดินที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อนมากถึงดินเหนียวแข็งปานกลาง ในการทดสอบหาค่าแรงเฉือนของดิน (Shear Strength) เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนดินอันเนื่องมาจากการเก็บตัวอย่าง ตามมาตรฐาน ASTM D 2573

Concrete Coring

คอริ่งพื้นคอนกรีตหรือชั้นผิวทางด้วยเครื่องเจาะ Core Drilling Machine เพื่อเปิดหลุมเจาะสำรวจสภาพชั้นดิน


การเก็บตัวอย่างดิน/หิน (Soil/Rock Sampling)

งานติดตั้งเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค (Instrument Installation)

การตรวจวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของดิน (Electrical Soil Resistivity Test)

การตรวจวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของดิน ใช้วิธีจัดขั้วไฟฟ้าสี่จุดแบบเวนเนอร์ (Four-Point Wenner array) ตามมาตรฐาน ASTM G57 อุปกรณ์การทดสอบประกอบด้วย แหล่งพลังงาน (Battery), เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า (Ammeter), เครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า (Potentiometer) และแท่งอิเล็กโทรด ค่าที่ตรวจวัดได้คำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะปรากฏ (Apparent Resistivity)

งานทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Seismic Test)

การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็ม (Seismic Test) มีจุดประสงค์เพื่อประเมิน สภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้ในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มในขั้นต้น การทดสอบนี้สามารถดำเนินการได้ทั้งในเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงและเสาเข็มเจาะหล่อกับที่ โดยทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มตามมาตรฐาน ASTM D5882-07

งานทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test)

การทดสอบเสาเข็มด้วยวิธี Dynamic Load Test นี้สามารถตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็มเบื้องต้น หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม การกระจายหน่วยแรงเสียดทานของเสาเข็ม กำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ปลายเข็ม ความสัมพันธ์ระหว่างการน้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัว ค่าหน่วยแรงเค้นอัดและแรงเค้นดึงที่เกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ และทราบถึงประสิทธิภาพของปั้นจั่นตอกเสาเข็ม โดยการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มตามมาตรฐาน ASTM D 4945-17